การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร ์และการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

 

คำอธิบาย

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

บทที่ ๑
บททั่วไปและนิยามศัพท์
-------------------------------------------

ความเป็นมา
หลักการและเหตุผล
คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙ เมื่อวันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยมีหลักการคือ “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอ มพิวเ ตอร์”
และเหตุผลคือ “เนื่อง จากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคั ญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไ ว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิช อบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร ์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดั งกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการแ ห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้พิจารณา และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยส มาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒ ิเกี่ยวกับวิชาการคอมพิวเตอร์และกฎหมายเพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการได้ประชุมพิจารณารวมทั้งสิ้น ๒๗ ครั้ง และได้เสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาในวาระ ๒ และวาระ ๓ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้มีมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๒๗ก. ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๓
วันใช้บังคับ
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เหตุผล เนื่อง จากพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีบทบัญญัติที่กำหนดโทษความผิดทางอาญาซึ่งเป ็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติแล้ว ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการสืบสวนสอบสวนคดีโดยพน ักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องมีการเตรียมการและการวางระเบียบในเรื่องของก ารแต่งตั้ง (มาตรา ๒๗) และในเรื่องที่จะต้องกำหนดระเบียบและวางแนวทางวิธีปฏ ิบัติในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนซึ่งจะต้องมีการประส านงานระหว่างพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหม ายวิธีพิจารณาความอาญากับพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๘) นอกจากนั้น ยังมีบทบัญญัติที่ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจร าจรทางคอมพิวเตอร์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศในรา ชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๒๕) จึงจำเป็นต้องให้ระยะเวลาเตรียมการในเรื่องเหล่านี้
พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวั นที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ ดังนั้นจึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
บทนิยามศัพท์
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมาย ความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำง านเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าท ี่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
คำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” มี ใช้อยู่ในมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔(๑)(๒)(๓) และ (๔) มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ (๒)(๔)(๖) และ(๘) มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๘
ความหมาย “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายถึงอุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประมวลผลข้อม ูลดิจิตัล ๔
(digital data) อันประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ต่างๆ ในการรับเข้าหรือป้อนข้อมูล (input) นำเข้าหรือแสดงผลข้อมูล (output) และบันทึกหรือเก็บข้อมูล (store and record) ระบบคอมพิวเตอร์จึงอาจเป็นอุปกรณ์เพียงเครื่องเดียว หรือหลายเครื่องอันมีลักษณะเป็นชุดเชื่อมต่อกัน โดยอาจเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายก็ได้ และมีลักษณะการทำงานโดยอัตโนมัติตามโปรแกรมหรือซอฟต์ แวร์ที่กำหนดไว้
ความหมายในภาษาทั่วไป หมายถึงอุปกรณ์ที่ได้มีการพัฒนาให้มีการทำงานประมวลผ ลข้อมูลโดยอัตโนมัติแล้ว ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โน้ตบุ้คที่ซื้อมายังไม่ถือว่าเป็น “ระบบคอมพิวเตอร์” จนกว่าจะได้มีการทำงานผ่านระบบเครือข่ายหรือโดยซอฟต์ แวร์
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมาย ความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเต อร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว ่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
คำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” มี ใช้อยู่ในมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา๒๔ และมาตรา ๒๕
ความหมาย “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมาย ถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งชุดคำสั่งด้วยหากอยู่ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร ์อาจประมวลผลได้ นอกจากนั้นยังให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ความจริงแล้ว “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ย่อมอยู่ ในความหมายของข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว แต่เพื่อให้ครอบคลุมถึงข้อมูลประเภทอื่นๆ ที่อาจสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในอนาคตที่ไม่ใช่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก็ได้
อย่างไรก็ตาม “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิ เล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ให้ความหมายคำว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ไว้ว่า “ข้อ ความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือ
โทรสารดังนั้น ความหมายจึงกว้างรวมออกไปถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร อย่างไรก็ตามองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ส่ วนใหญ่จะเชื่อมโยงองค์ประกอบความผิด “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” กับ “ระบบคอมพิวเตอร์” เข้า ด้วยกัน ดังนั้นกรณีของโทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสารหากเป็นความผิดที่ต้องเชื่อมโยงกับระบบคอม พิวเตอร์ เช่นการดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบตามมา ตรา ๘ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร ์ เป็นต้น ดังนั้นการดักรับโทรเลข โทรพิมพ์หรือโทรสารที่ไม่ได้ส่งในระบบคอมพิวเตอร์ย่อ มไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นต้น
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมาย ความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ นั้น
คำว่า “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖
ความหมาย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมาย ถึงข้อมูลที่แสดงรายการให้เห็นถึงการติดต่อสื่อส ารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะแสดงถึงแหล่งกำเนิด เช่น IP address ของเครื่อง ชื่อที่อยู่ของผู้ใช้ บริการที่มีการลงทะเบียน ข้อมูลของผู้ให้บริการ (service provider) ลักษณะของการให้บริการว่าผ่านระบบใดหรือเครือข่ายใด วันเวลาของการส่งข้อมูล และข้อมูลทุกประเภทที่เกิดจากการสื่อสาร (communication) ผ่าน “ระบบคอมพิวเตอร์”
การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีระบบเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์และมีผู้ให้บริการซึ่งผู้ให้บริการจะ มีข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ขอ งตน และตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดว่า ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิว เตอร์ที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการในระบบคอมพิวเตอร์ข องตนดังกล่าว (มาตรา ๒๕)
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทาง
ระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน ์ของบุคคลตามอื่น
คำว่า “ผู้ให้บริการ” มีใช้อยู่ในมาตรา๑๕ มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๖
ความหมาย “ผู้ให้บริการ” ตาม ความหมายทั่วไปเข้าใจกันว่าหมายถึง service provider แต่ตามคำนิยามศัพท์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ย่อมหมายถึงบุคคลประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่า หรือบริการสื่อสารไร้สาย
(๒) ผู้ให้บริการการเจ้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดย internet ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่า internet ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
(๓) ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (host service provider)
ส่วนผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประ โยชน์แก่บุคคลอื่นตาม (๒) นั้น ย่อมหมายถึงผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่น ผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริ การหรือไม่ก็ตาม
คำว่า “ผู้ใช้บริการ” มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๖
ความหมาย “ผู้ใช้บริการ” หมาย ถึงผู้ใช้บริการทุกประเภทของผู้ให้บริการไม่ว่าจ ะต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ เช่นผู้ใช้บริการ internet ของ hotmail หรือ yahoo มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๖
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญั ตินี้
คำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” มีใช้อยู่ในมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๓๐ ๗
ความหมาย “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมาย ถึงผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบคอ มพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยรัฐมน ตรีจะเป็นผู้แต่งตั้ง (มาตรา ๒๘)
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนและสอบส วนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๑๘)
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (มาตรา ๔)
การรักษาการและการออกกฎกระทรวง
มาตรา ๔ ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบ ัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
นอกจากการออกกฎกระทรวงแล้วรัฐมนตรียังมีอำนาจหน้าที่ ในการ
(๑) ให้ความเห็นชอบในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำ สั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา ๒๐)
(๒) กำหนดเรื่องชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (มาตรา ๒๑)
(๓) ประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ให้บริการที่ต้องเก็บรัก ษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (มาตรา ๒๖)
(๔) กำหนดคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๘)
(๕) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเน ินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยร่วมกับนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำ รวจแห่งชาติ (มาตรา ๒๙)
(๖) กำหนดแบบบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๓๐)

บทที่ ๒
ฐานความผิด องค์ประกอบความผิดและบทกำหนดโทษ
-------------------------------------------

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้การกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษไว้ ในหมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่มาตรา ๕ ถึงมาตรา ๑๖โดยกำหนดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษไว้ ดังนี้
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๕ ผู้ ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรกา รป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้ สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดประการแรก คือ “การเข้าถึง”
ตามเอกสารชี้แจงของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกร รมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้อธิบายประกอบเสนอร่างกฎหม ายต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉ บับนี้ ให้ความหมายว่า
“การเข้าถึง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “access” หมาย ถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ เช่น กรณีที่มีการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่ นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ ได้รหัสผ่านนั้นมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้ นได้โดยนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเข้า ถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ แม้ตัวบุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่อ งคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ที่ตนต้องการได้
นอกจากนั้นยังหมายถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข ้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ๙
ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรื อโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง เช่นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ส่วนวิธีการเข้าถึงนั้นรวมทุกวิธีการไม่ว่าจะเข้าถึง โดยผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ เช่นอินเทอร์เน็ตอันเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่า ยหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน และยังหมายถึงการเข้าถึงโดยผ่านระบบเครือข่ายเดียวกั นด้วยก็ได้ เช่น ระบบ LAN (Local Area Network) อันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ในพื้นที่ใกล้ๆ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงการเข้าถึงโดยการติดต่อสื ่อสารแบบไร้สาย (wireless communication) อีกด้วย
องค์ประกอบความผิดประการต่อไป คือ “โดยมิชอบ” ซึ่งองค์ประกอบความผิดนี้มีใช้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญ ามาตรา ๒๖๙/๕ และมาตรา ๒๖๙/๖ ในเรื่องความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
ความหมายที่เข้าใจกันคือ “การเข้าถึง” ซึ่ง ถือว่าเป็นความผิดฐานนี้ จะต้องเป็นการเข้าถึงโดยปราศจากสิทธิโดยชอบธรรม (without right) ด้วย ซึ่งหมายความว่าหากผู้ทำการเข้าถึงนั้นเป็นบุคคลที่ม ีสิทธิเข้าถึงไม่ว่าด้วยถือสิทธิตามกฎหมายหรือได้รับ อนุญาตจากเจ้าของระบบ ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงเพื่อดูแลระบบของผู้ดูแลเว็บ (webmaster) อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการเข้าถึงนั้นได้เข้าถึงระบ บหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เกินกว่าที่ตนได้รับอนุญาต ในกรณีนี้บุคคลดังกล่าวก็ย่อมต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
องค์ประกอบความผิดประการต่อไปคือ “ระบบคอมพิวเตอร์” ซึ่งได้ให้คำนิยามศัพท์ไว้ในมาตรา ๓ และได้อธิบายไว้ในบทที่ ๑ แล้ว
องค์ประกอบความผิดประการสุดท้ายคือ จะต้อง “เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีวิธีการป้องกันการเข้ าถึงโ ดยเฉพาะ”
ระบบคอมพิวเตอร์ใดเป็นระบบที่มีวิธีการป้องกันการเข้ าถึงโดยเฉพาะเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบเป็นเรื่อ งๆ ไป ส่วนเหตุผลที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดนี้ก็เพราะมีร ะบบคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เจ้าของไม่ได้หวงแหนการที่ บุคคลใดจะเข้าถึง
ถึงแม้การกระทำของผู้กระทำจะครบองค์ประกอบความผิดในส ่วนที่เป็นการกระทำแล้วก็ยังต้องการองค์ประกอบในภาคจ ิตใจคือ ผู้กระทำต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ ด้วย
การกระทำความผิดโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรานี้อา จเกิดขึ้นหลายวิธี เช่น การเจาะระบบ (hacking or cracking) หรือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ (computer trespass) ซึ่งการกระทำเช่นว่านี้เป็นการขัดขวางการใช้ระบบคอมพ ิวเตอร์โดยชอบ๑๐
ของบุคคลอื่นอันอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำงานระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยปกติความผิดฐานนี้จะเป็นที่มาของการกระทำความผิดฐ านต่อไป เช่นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบอาชญากรรมอื่น หรือเพื่อกระทำความผิดฐานอื่นตามบทบัญญัติมาตราต่อๆ ไปในพระราชบัญญัตินี้
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ท ี่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยมิชอบ
มาตรา ๖ ผู้ ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร ์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดมาตรา ๖ นี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย กล่าวคือประกอบด้วย
(๑) ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ ู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
หมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีมาตรการการเข้าถึง เช่นมีการลงทะเบียน username และ password หรือมีวิธีการอื่นใดที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะ การที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ กระทำล่วงรู้ ซึ่งการล่วงรู้นั้นจะได้มาโดยชอบหรือไม่ชอบไม่สำคัญ
(๒) เปิดเผยโดยมิชอบ
หมายความว่าเพียงแต่นำมาตรการนั้นเปิดเผยแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือหลายคนก็เข้าองค์ประกอบความผิดแล้ว เมื่อเปิดเผยแล้วผู้ใดจะทราบหรือนำไปใช้หรือไม่ ไม่สำคัญ
(๓) ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
เป็นองค์ประกอบความผิดอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาด ้วยว่าการเปิดเผยนั้นอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเส ียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่ หากเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำให้ผู้ใดเสียหายก็ไม่มีคว ามผิด
(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
ถ้าผู้กระทำไม่มีเจตนาย่อมไม่มีความผิด เช่นเป็นเพียงประมาททำให้มีการเปิดเผยมาตรการการเข้า ถึงย่อมไม่ผิดเพราะขาดเจตนา ๑๑
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๗ ผู้ ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตร การป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไ ว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๗ ตรงกับองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๕ เพียงแต่เปลี่ยนจาก “ระบบคอมพิวเตอร์” เป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ดังนั้นจึงต้องพิจารณานิยามศัพท์คำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ซึ่งอธิบายไว้ในบทที่ ๑ แล้ว
ที่ต้องพึงระลึกก็คือว่า เจตนารมณ์ของการบัญญัติความผิดฐานเข้าถึงข้อมูลคอมพิ วเตอร์โดยมิชอบ ซึ่งหมายถึงข้อมูลนั้นเป็นการเก็บหรือส่งด้วยวิธีการ ทางคอมพิวเตอร์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงไม่น่าจะหมายความรวมถึงข้อมูลที่บรรจุไว้ใ นแผ่นซีดี หรือแผ่นดิสเกตต์ อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่มีการนำซีดีหรือแผ่นดิสเกตต์น ั้นเล่นผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก็จะอยู่ในความหมายของข้อ มูลคอมพิวเตอร์ทันที
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
มาตรา ๘ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็ก ทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อย ู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธ ารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดของมาตรา ๘ คือ
(๑) กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิ กส์ เพื่อดักรับไว้
ตามคำอธิบายของเนคเทคประกอบการเสนอร่างกฎหมายมีดังนี ้
การดักรับข้อมูลในมาตรานี้หมายถึง การดักรับโดยวิธีการทางเทคนิค (technical means) เพื่อลักลอบดักฟัง (listen) ตรวจสอบ (monitoring) หรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสาร (surveillance) ที่สื่อสารถึงกันระหว่างบุคคล หรือเป็นการ๑๒
กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยตรงหรือโด ยการเข้าถึงและใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือการทำให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยทางอ้อมด้ว ยการแอบบันทึกข้อมูลสื่อสารถึงกันด้วยอุปกรณ์อิเล็กท รอนิกส์ โดยไม่คำนึงว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกข้อ มูลดังกล่าวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสำหรับส่ งผ่านข้อมูลหรือไม่เพราะบางกรณีอาจใช้อุปกรณ์เช่นว่า นั้นเพื่อบันทึกการสื่อสารข้อมูลที่ได้ส่งผ่านด้วยวิ ธีการแบบไร้สายก็ได้ เช่นการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การติดต่อโดยใช้เทคโนโลยีไร้สายประเภท wireless LAN เป็นต้น ซึ่งนอกจาการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อบันทึกข้อ มูลที่มีการส่งผ่านกันแล้ว ยังรวมถึงกรณีการใช้ซอฟต์แวร์ หรือรหัสผ่านต่างๆ เพื่อทำการแอบบันทึกข้อมูลที่ส่งผ่านถึงกันด้วย
ต้องอย่าลืมว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ผู้กระทำได้กระทำไป “โดยมิชอบ” ด้วย ซึ่งหมายถึงการไม่มีอำนาจกระทำ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ไม่ว่าโดยกฎหมายหรือ โดยการอนุญาตของเจ้าของสิทธิ ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในร ะบบคอมพิวเตอร์
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนี้จะต้องเป็นข ้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงไม่หมายความรวมถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่จัด เก็บในรูปแบบซีดี หรือดิสเกตต์
(๓) ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณ ะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้
การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้มีไว้เพื่อประโยชน ์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้หรือไ ม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าลักษณะการส่งข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ดังกล่าวนั้นผู้ส่งต้องการให้เป็นเรื่องเฉพาะ ตนไม่ได้ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่ผู้ใดหรือไม่
การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีไว้เพื่อประโยชน์ สาธารณะจึงต้องพิจารณาจากการมีการเข้ารหัสการเข้าถึง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเพียงใด
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะพิจารณาจากเนื้อหาของข้อ มูลว่าเป็นความลับหรือไม่ เช่น เนื้อหาของข้อมูลอาจเป็นเรื่องความลับทางการค้า แต่หากผู้ส่งใช้วิธีการส่งที่ไม่มีมาตรการป้องกันการ เข้าถึงข้อมูลนั้น ผู้ที่ดักรับย่อมไม่มีความผิด
(๔) โดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
หมายถึงเจตนาในการกระทำความผิด ๑๓
วัตถุประสงค์ของมาตรา ๘ คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสา ร (the right of privacy of data communication) ทำนองเดียวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตั วในการติดต่อสื่อสารรูปแบบที่ห้ามดักฟังหรือแอบบันทึ กการสนทนาทางโทรศัพท์
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๙ ผู้ ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรานี้หมายถึงการกระทำอันเป็นการรบกวนข้ อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีองค์ประกอบความผิด คือ
(๑) กระทำการอันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมโดยมิชอบ
องค์ประกอบข้อนี้ใช้ถ้อยคำซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ คือคำว่า “ทำให้เสียหาย” และ “ทำลาย” แต่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมนั้น มาตรานี้ไม่ได้ยกองค์ประกอบของความผิดฐานปลอมเอกสารม า แต่เขียนองค์ประกอบให้ชัดเจนว่าเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซึ่งเป็นคำสามัญที่เข้าใจได้และแน่นอนว่าต้องคงองค์ป ระกอบความผิดในเรื่อง “โดยมิชอบ” ไว้เสมอ เพราะมีกรณีจำนวนมากที่ผู้กระทำมีอำนาจและสิทธิที่จะ เข้าไปแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ความหมายของ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” อยู่ในนิยามศัพท์ และจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอ ร์ของผู้อื่น
(๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
ความผิดตามมาตรา ๙ มุ่งจะคุ้มครองความถูกต้องของข้อมูล (integrity) ความถูกต้องแท้จริง (authentication) และเสถียรภาพหรือความพร้อมในการใช้งานหรือการใช้ข้อม ูลคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกเก็บไว ้บนสื่อคอมพิวเตอร์ได้อย่าง๑๔
เป็นปกติจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลคอมพิวเตอ ร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียว กับสิ่งของที่สามารถจับต้องได้ (corporeal object)
ตัวอย่างของการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ได้แก่ การป้อนโปรแกรมที่มีไวรัสทำลายข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพ ิวเตอร์ หรือการป้อน Trojan Horse เข้าไปในระบบเพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส ำหรับเพื่อเข้าไปลบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนข้อมูล เป็นต้น
อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้มี องค์ประกอบความผิดที่สำคัญคือ “โดยมิชอบ” ดัง นั้นหากเป็นการกระทำของบุคคลผู้มีสิทธิโดยชอบก็จะ ไม่เป็นความผิด เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารแบบไม่ระบุชื่อ ตัวอย่างเช่น การสื่อสารผ่านระบบ anonymous remailer system หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อการรักษาความลับและควา มปลอดภัยของการสื่อสาร อาทิ การเข้ารหัสข้อมูล (encryption) เป็นต้น
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานตามปกติได้
มาตรา ๑๐ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระง ับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรา ๑๐ นี้ มีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบความผิดคล้ายคลึงกับมาตร า ๙ เพียงแต่เปลี่ยนวัตถุแห่งการถูกกระทำจาก “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” เป็น “ระบบคอมพิวเตอร์” มีองค์ประกอบความผิด คือ

(๑) กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ

(๒) มีเจตนาพิเศษเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผ ู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้

มีข้อสังเกตว่า องค์ประกอบความผิดข้อที่ (๑) นั้นเป็นเรื่องการกระทำใดๆ ก็ได้ซึ่งกินความหมายกว้างขวางมาก กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอ ร์ ดังนั้นจึงควรหมายถึงการเข้าไปทำกับระบบคอมพิวเตอร์เ ท่านั้นหรือไม่ ๑๕
หรือจะหมายถึงการกระทำทางกายภาพอื่นๆ เช่น การระเบิด การวินาศกรรมเพื่อให้มีผลทำลายการทำงานของระบบคอมพิว เตอร์ด้วย เท่าที่มีการอภิปรายกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเ ป็นไปในแนวทางเดียวกันที่จะให้ขยายรวมถึงการกระทำทาง กายภาพ (physical) ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
ส่วนองค์ประกอบความผิดข้อที่ (๒) มุ่งถึงเจตนาพิเศษของผู้กระทำเป็นสำคัญ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้กระทำไปเ พื่อค้นหาเจตนาพิเศษดังกล่าวตามหลัก “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา”
ส่วนถ้อยคำที่ว่า “จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้” ย่อม หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถทำงานได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้นถึงแม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ แต่เป็นการทำงานที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดปกติไป (malfunctioning) ก็ย่อมอยู่ในความหมายของถ้อยคำอันเป็นองค์ประกอบความ ผิดนี้แล้ว
ตัวอย่างของการกระทำความผิดตามมาตรานี้ อาทิเช่น การป้อนโปรแกรมที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ปฏิเสธการทำงา น (denial of service) หรือทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลงโดยการป้อนไวร ัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดผลชะลอการทำงานของระบบเป็น ต้น
อย่างไรก็ตาม หากผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีอำนาจหรือสิทธิโดยชอบย่อม ไม่เป็นความผิดเพราะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดที่ว่า “โดยมิชอบ” ดัง เช่น การทดสอบหรือรักษาความมั่นคงเพื่อความปลอดภัยของระบบ คอมพิวเตอร์โดยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้เป็นเจ้า ของระบบคอมพิวเตอร์ (owner) หรือผู้ปฏิบัติการ (operator) หรือการปรับแก้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ของคอมพิวเตอร์โดยผู้ปฏิบัติการ (operator) ก่อนติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ ่งจะมีผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานไม่เป็นปกติทั้งก่อน และหลังการติดตั้งโปรแกรม
ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบ ุคคลอื่นโดยปกติสุข
มาตรา ๑๑ ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แ ก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่ง ข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโด ยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ๑๖
ความผิดตามมาตรา ๑๑ นี้ คณะกรรมาธิการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นการบัญญัติเอาผ ิดแก่การกระทำที่ไม่ถึงกับทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุ คคลอื่นไม่สามารถทำงานตามปกติได้ แต่เป็นการทำให้เกิดการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขอ งบุคคลอื่นโดยปกติสุข เช่นส่ง e-mail มากจนล้นระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นจนทำให้เกิดความ ยุ่งยากในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ภาษาอังกฤษเรียกว่า “spamming” องค์ประกอบความผิดของมาตรานี้คือ
(๑) ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ความจริงแล้ว “จดหมายอิเล็กทรอนิกส์” หรือ e-mail ก็อยู่ในความหมายของ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” อยู่แล้วตามนิยามศัพท์ แต่คณะกรรมาธิการต้องการให้ชัดเจนเพื่อเป็นการเตือนใ ห้เข้าใจในความหมายขององค์ประกอบความผิดฐานนี้
(๒) โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล
องค์ประกอบความผิดนี้สำคัญมากเพราะไม่ใช่เรื่อง “โดยมิชอบ” เหมือนกับความผิดตามมาตราอื่นๆ ในพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเรื่องปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข ้อมูล
ขอย้ำว่าการปกปิดหรือปลอมแปลงนี้ต้องเป็นเรื่องของ “แหล่งที่มาของการส่งข้อมูล” ซึ่งตรวจสอบได้โดย “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” ได้แก่ การปกปิดหรือปลอมแปลง IP address และหมายถึงการกระทำที่ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบถึงแหล่ง ที่มาของการส่งข้อมูลและส่งผลให้ไม่อาจตรวจสอบได้ทาง ระบบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จึงไม่ใช่เรื่องการปกปิดหรือปลอมแปลงโดยการไม่ใช้ชื่ อจริง หรือการเปลี่ยนแปลงใช้ชื่อหรือใช้นามแฝง หรือใช้ email-address ที่ผิดไปหรือเปลี่ยนแปลงไปซึ่งยังตรวจสอบแหล่งที่มาข องการส่งข้อมูลได้อยู่
ความหมายของ “การปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมู ลคอมพ ิวเตอร์” ได้ มีการอภิปรายและชี้แจงเพื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์ขอ งกฎหมายมาตรานี้ชัดเจนในการอภิปรายของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ในวาระที่ ๒ ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐
(๓) อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโด ยปกติสุข
องค์ประกอบความผิดข้อนี้ คณะกรรมาธิการเขียนล้อกับองค์ประกอบความผิดฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ ดังนั้นจึงน่าจะมีความรุนแรงของการรบกวนพอสมควร ซึ่งต้องใช้มาตรฐานของวิญญูชนเป็นระดับวัดเป็นการพิจ ารณาแบบ objective มิใช่พิจารณาตามความเป็นจริงแบบ subjective ๑๗
ข้อสังเกตสำหรับความผิดตามมาตรานี้ ก็คือเป็นบทบัญญัติที่มีโทษปรับสถานเดียวและไม่มีโทษ จำคุก จึงถือว่าเป็นโทษที่ค่อนข้างเบา ในประเด็นที่เทียบเคียงกับความผิดฐานบุกรุกซึ่งเป็นค วามผิดอันยอมความได้ แต่คณะกรรมาธิการเห็นว่าความผิดตามมาตรา ๑๒ เรื่อง spamming นี้มักจะไม่ทำกับผู้เสียหายคนเดียว แต่มักจะทำในวงกว้าง หากกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้จะมีปัญหาเกี่ยว กับการร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีซึ่งมีผู้เสียหายจำนวน มาก จึงไม่ได้กำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้
บทลงโทษที่หนักขึ้นสำหรับการกระทำที่กอให้เกิดความเส ียหายแก่ประชาชนหรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือภายหลังแ ละไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อ มูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรั กษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิว เตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษตั้งแต่ สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๒ เป็นบทลงโทษที่หนักขึ้นสำหรับการกระทำความผิดตามมาตร า ๙ หรือมาตรา ๑๐ (ไม่รวมความผิดฐาน spamming ตามมาตรา ๑๑) ซึ่งเป็นการกระทำโดยมิชอบกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ อื่น ดังนั้นจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้จะต้องเป็นความผิ ดใน ๒ มาตราดังกล่าวก่อน ๑๘
ตามมาตรา ๑๒(๑) พิจารณาผลจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผ ิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ คำว่า “แก่ประชาชน” ควรพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนในวงกว้า ง (public) แบบเดียวกับถ้อยคำ “ประชาชน” ในเรื่องฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๓
องค์ประกอบที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ “ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือภายหลังแ ละไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่” ซึ่ง ดูเสมือนว่าจะไม่คำนึงถึงผล แต่จริงๆ แล้วต้องพิจารณาว่าผลคือความเสียหายนั้นต้องเกิดขึ้น แน่ เพียงแต่ว่าถึงแม้จะยังไม่เกิดแต่แน่นอนว่าหากจะเกิด ขึ้นในภายหลังก็ถือว่าเข้าองค์ประกอบความผิดนี้แล้ว ถ้อยคำนี้จึงน่าจะแตกต่างจาก “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย” ตาม มาตรา ๑๒(๒) ซึ่งจะได้อธิบายในลำดับถัดไป การกระทำความผิดที่เข้ามาตรา ๑๒(๑) กฎหมายให้ระวางโทษหนักขึ้นเป็นจำคุกไม่เกินสิบปีและป รับไม่เกินสองแสนบาท
ส่วนบทลงโทษที่หนักขึ้นตามมาตรา ๑๒(๒) ไม่ได้พิจารณาจากผลของการกระทำดังที่เขียนไว้ในมาตรา ๑๒(๑) แต่มาตรา ๑๒(๒) พิจารณาจากลักษณะของการกระทำที่จะก่อให้เกิดผล โดยใช้คำว่า “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อ...” ซึ่ง ถ้อยคำนี้มีใช้อยู่ในความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็ก ทรอนิกส์ตาม มาตรา ๒๖๙/๕ และมาตรา ๒๖๙/๖ ของประมวลกฎหมายอาญาและอีกหลายบทมาตราที่ใช้ถ้อยคำใน ลักษณะทำนองเดียวกัน
ในขณะที่มาตรา ๑๒(๑) พิจารณาจากผลที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มาตรา ๑๒(๒) พิจารณาจากลักษณะของการกระทำที่ไปกระทำต่อข้อมูลคอมพ ิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่กฎหมายมุ่งให้ความคุ้ม ครองเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑) ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกา รรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ
หมายเหตุ ตัวบทใช้คำว่า “หรือ” จึงหมายความว่า เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็เข้าองค์ประกอบแล้ว และเป็นถ้อยคำสามัญที่ตีความตามหลักภาษาไทย
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อป ระโยชน์สาธารณะ
ถ้อยคำนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ในความเห็นของผู้เขียน การพิสูจน์ความผิดตามองค์ประกอบข้อนี้ โจทก์จะต้องพิสูจน์โดยปราศจากความสงสัยตามสมควรว่า ผู้กระทำความผิดรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความ ผิด คือต้องรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์น ั้นมีไว้เพื่อใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่นอาจต้องมีประกาศแจ้งเตือนก่อน ๑๙
การกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒(๒) ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีแล ะปรับตั้งแต่หกหมื่นถึงสามแสนบาท
ส่วนความในวรรคท้ายของมาตรา ๑๒ เป็นบทฉกรรจ์สำหรับการลงโทษที่หนักขึ้นของผู้กระทำผิ ดตามมาตรา ๑๒(๒) ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มีข้อสังเกตว่า เหตุฉกรรจ์ตามมาตรา ๑๒ วรรคท้ายที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น หากเป็นกรณีที่ผู้กระทำมีเจตนาฆ่าผู้กระทำต้องมีความ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ หรือ มาตรา ๒๘๙ แล้วแต่กรณี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงสุด คือประหารชีวิต หากเป็นกรณีที่ผู้กระทำได้กระทำไปโดยประมาทก็ต้องถือ ว่าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องปรับบทความผิดตา มประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ ด้วย แต่เนื่องจากโทษตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้หนักกว่าโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ ที่กำหนดไว้จำคุกไม่เกินสิบปี จึงต้องใช้บทลงโทษตามมาตรา ๑๒ วรรคท้ายซึ่งหนักกว่า ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ หรือแม่แต่การกระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไม่เจต นาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ ก็มีอัตราโทษ คือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ซึ่งเป็นอัตราโทษที่เบากว่ามาตรา ๑๒ วรรคท้าย
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด
มาตรา ๑๓ ผู้ ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพ าะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมา ตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๑๓ คือ
(๑) จำหน่ายหรือเผยแพร่
คำว่า “จำหน่าย” ชัดเจน ส่วนคำว่า “เผยแพร่” นั้นเป็นคำที่กว้างกว่าน่าจะรวมถึงการโฆษณา จ่าย แจก เป็นที่น่าสังเกตว่า “การมีไว้เพื่อจำหน่าย” ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานนี้ อาจเป็นเพราะลักษณะของสิ่งที่มีไว้ยากในการพิสูจน์ว่ ามีไว้โดยเจตนาที่๒๐
ชอบหรือไม่ชอบ ครั้นจะใช้หลักพิจารณาด้วยปริมาณของการมีไว้แบบยาเสพ ติดก็ทำไม่ได้เพราะชุดคำสั่งในลักษณะของโปรแกรมคอมพิ วเตอร์ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลดิจิตัล
(๒) ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่ องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑
ชุดคำสั่งตามมาตรานี้อาจเป็นแบบวัตถุ เช่น ดิสเกตต์ก็ได้ หรือาจเป็นไฟล์ ดิจิตัลก็ได้ ส่วนการใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดนั้นเป็นค วามผิดตามมาตราหนึ่งมาตราใดก็ได้เพราะตัวบทใช้คำว่า “หรือ”
(๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
เจตนาในที่นี้ หมายถึงเจตนาจำหน่ายหรือเจตนาเผยแพร่ชุดคำสั่งจึงหมา ยความว่าผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่าชุดคำสั่ง นั้นได้จัดทำขึ้น โดยเฉพาะเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ผู้กระทำความผิดมาตรา ๑๓ มีบทระวางโทษไม่รุนแรงนัก คือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหร ือทั้งจำทั้งปรับ
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไ ม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็ นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประช าชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป ็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของปร ะเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอา ญา ๒๑
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล ้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
ปกติแล้วความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะหมายความเฉพาะ ความผิดที่กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเ ตอร์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อาจถูกใช ้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรมได้แทบทุกประเภท ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือความผิดฐาน ดูหมิ่น หมิ่นประมาทหรือเผยแพร่ภาพลามก ซึ่งการกระทำความผิดเหล่านั้นก็จำต้องพิจารณาจากองค์ ประกอบความผิดสำหรับความผิดนั้นๆ เช่นพิจารณาบทบัญญัติจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญ า เป็นต้น
ถึงแม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำ ความผิดจะเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้ร่างกฎหมายคงเห็นว่ามีความผิดหลายลักษณะที่ควร บัญญัติเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกประการหนึ่ ง จึงได้บัญญัติมาตรา ๑๔ โดยมีองค์ประกอบความผิดที่สำคัญคือ “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร ์” การกระทำผิดตามมาตรานี้จึงต้องพิจารณาว่าอาจเป็นความ ผิดตามกฎหมายอื่นอีกด้วยหรือไม่
ความผิดตามมาตรา ๑๔ มี ๕ อนุมาตราจึงเปรียบเสมือนการบัญญัติความผิดขึ้นมาอีก ๕ ลักษณะ ดังนี้
. นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไ ม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็ นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประช าชน
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๑) มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

การนำเข้าสู่ หมายถึงการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมซอฟต์แวร์ต ่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

(๒) ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนห รือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
๒๒
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หมายถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้นจะทั้งหมดหรือแต่เพียง บางส่วน ส่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นเท็จนั้น น่าจะหมายถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ของจริง เช่นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ระบุว่าเป็นเครื่องมือป้องก ันไวรัสของบริษัทหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ เป็นต้น
(๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประช าชน
องค์ประกอบความผิดนี้มีใช้อยู่ในความผิดตามประมวลกฎห มายอาญาหลายฐานความผิด เช่น ความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา ๒๖๔ หรือความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๖๙/๑ องค์ประกอบนี้ไม่ใช่เจตนาพิเศษของผู้กระทำ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำใ นเรื่องของเจตนาด้วย
(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
เจตนาในที่นี้ต้องครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการข้างต้น กล่าวคือผู้กระทำต้องมีเจตนานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร ์ ในขณะเดียวกันผู้กระทำต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงในองค์ปร ะกอบความผิดว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมหรือข้อมูลค อมพิวเตอร์อันเป็นเท็จและต้องรู้ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือป ระชาชน
. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป ็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของปร ะเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๒) มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบความผิดเดียวกันกับข้อ ๑๔(๑)
(๒) ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
มาตรา ๑๔(๒) เน้นที่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ จึงไม่ใช่เรื่องที่ไปปลอมแปลงข้อมูลที่มีอยู่
(๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของปร ะเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ความจริงแล้วองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๑๔(๒) ก็ใกล้เคียงและเกลื่อนกลืนกัน การกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประ เทศหรือก่อให้เกิด๒๓
ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ก็น่าจะถือได้ว่าเข้าองค์ประกอบความผิดที่น่าจะเกิดค วามเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา ๑๔(๑) อยู่แล้วด้วย
(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอา ญา
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๓) มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอา ญา
องค์ประกอบความผิดข้อนี้พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลคอ มพิวเตอร์ กล่าวคือเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ใช้กระทำความผิดเกี ่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๓๕ หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอา ญา มาตรา ๑๓๕/๑ ถึงมาตรา ๑๓๕/๓
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๓) นี้จึงเป็นการบัญญัติเอาผิดเพิ่มขึ้นจากการกระทำซึ่ง เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือค วามผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายโดยในการกระทำความผิดดั งกล่าวได้ใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์นำข้อมูลคอมพิวเตอ ร์อันเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเ ตอร์ ดังนั้นการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔(๓) นี้ผู้กระทำอาจต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบทมา ตราที่กล่าวมาด้วย
(๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
ซึ่งหมายถึงเจตนาในการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตาม (๑) และรู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม (๒)
. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนท ั่วไปอาจเข้าถึงได้
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๔) มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ๒๔
องค์ประกอบความผิดข้อนี้พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลคอ มพิวเตอร์เช่นกัน คือเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามก
คำว่า “ลามก” เป็น คำสามัญที่ไม่มีการนิยามศัพท์ แต่เป็นคำที่ใช้เป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมา ยอาญา มาตรา ๒๘๗ ซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่วัตถุอันลามก ดังนั้นข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดจะเข้าองค์ประกอบความผิด “ลามก” หรือไม่ จึงใช้มาตรฐานเดียวกันกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๗ ดังกล่าว ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานหลายเรื่องแล้ วในเรื่องการพิจารณาลักษณะอันลามก
(๓) ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
การจะเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔(๔) นอกจากข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะอันลามกแล้ว ยังต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้ าถึงได้อีกด้วย ดังนั้นหากเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ของตนโดยเฉพาะท ี่ไม่ได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเข้าถึง แต่บังเอิญนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปซ่อม แล้วช่างซ่อมตรวจพบเข้าจึงนำไปเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร ์และเผยแพร่ดังที่เป็นข่าวคราว เช่นนี้เฉพาะช่างซ่อมเท่านั้นที่มีความผิดตามมาตรา ๑๔(๔)
. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล ้วว่าเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
ความผิดตามมาตรา ๑๔(๕) มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบความผิดนี้แตกต่างจากอนุมาตรา (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ซึ่งเป็นเรื่องการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่องค์ประกอบความผิดข้อนี้เป็นเพียงการเผยแพร่หรือส ่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ระบบคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อใ ห้มีการส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อมูลได้โดยง่าย
คำว่า “เผยแพร่หรือส่งต่อ” เป็น คำสำคัญที่เข้าใจได้แต่ต้องระลึกว่าเป็นการเผยแพ ร่หรือส่งต่อในระบบคอมพิวเตอร์ ไม่หมายความรวมถึงการส่งต่อทางกายภาพ เช่นการส่งดิสเกตต์ หรือสั่งพิมพ์ออก (printout)
(๒) โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ๒๕
การจะเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔(๕) ต้องพิสูจน์ด้วยว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ที่ตนเผยแพร่หรือส่งต่อนั้น เป็นข้อมูลซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
(๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
หมายถึง ผู้กระทำต้องมีเจตนาในการเผยแพร่หรือส่งต่อ
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำควา มผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๕ ผู้ ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระ ทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๕ เป็นการเอาผิดกับ “ผู้ให้บริการ” มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้

(๑) ผู้ให้บริการ

ผู้ที่จะมีความผิดตามมาตรา ๑๕ ต้องเป็น “ผู้ให้บริการ” ซึ่ง มีนิยามศัพท์ไว้ในมาตรา ๓ ผู้ให้บริการจึงหมายถึงผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในกา รเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยปร ะการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือใน นามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น และยังหมายความรวมถึงผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอม พิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

(๒) จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

บทบัญญัติมาตรานี้ใช้ถ้อยคำ “จงใจ” ซึ่งเป็นคำที่เพิ่มขึ้นมาจาก “เจตนา” โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเน้นให้เห็นว่า “จงใจ” นั้น หมายถึงต้องรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ เช่นมีการเตือนหรือแจ้งให้ทราบแล้วว่าข้อมูลคอมพิวเต อร์นั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔ เมื่อผู้ให้บริการยังปล่อยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพ ิวเตอร์อันเป็นความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในควา มควบคุมของตน ก็จะถือได้ว่าเป็นการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการ กระทำความผิด

(๓) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน

ข้อนี้เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติเอาผิดเฉพาะผู้ให้บ ริการที่กระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความ ควบคุมของตนเท่านั้น ๒๖
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการหรือผู้ใดก็ตามหากมีการกระทำอันเป็นการส นับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ไม่ว่าในระบบคอมพิวเตอร์ของตนหรือของผู้ใดก็อาจต้องร ับผิดตามหลักเรื่องตัวการ หรือผู้สนับสนุนตามหลักในประมวลกฎหมายอาญาได้

(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙

มีข้อสังเกตว่า ถึงแม้มาตรา ๑๕ จะได้บัญญัติองค์ประกอบความผิดว่า “จงใจ” แล้ว ก็ตาม แต่ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ ด้วย ซึ่งถึงแม้จะดูเป็นองค์ประกอบความผิดที่ซ้ำซ้อนกัน แต่คณะกรรมาธิการเห็นควรให้คงไว้เพื่อเน้นย้ำว่าการท ี่จะเอาผิดกับผู้ให้บริการตามมาตรานี้ได้จะต้องเป็นเ รื่องที่ผู้ให้บริการรู้อยู่แล้วว่าข้อมูลคอมพิวเตอร ์ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในความควบคุมของตน เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ แล้วยังยินยอมหรือสนับสนุนให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นอ ยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของตนอยู่
ตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
มาตรา ๑๖ ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข ้าถึงซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่ น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยสุจริต ผกระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้า ผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องท ุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ๒๗
ความผิดตามมาตรา ๑๖ นี้เป็นลักษณะของการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทด้วยการตก แต่งภาพของบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง ได้

หมายความว่า ผู้กระทำได้มีการกระทำอันเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์นั้นเป็นระบบที่ประชาชนทั่วไปอาจเ ข้าถึงได้ ถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองก็ไม่เป็นความผิด

(๒) ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด

องค์ประกอบความผิดข้อนี้ต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที ่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น หมายถึงการแสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกเป็นภาพของบุ คคล และภาพนั้นอาจเกิดจากการสร้างขึ้นใหม่ หรือเป็นภาพที่มีอยู่แต่ได้มีการตัดต่อ เติมหรือดัดแปลง ซึ่งเป็นการทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีก ารอื่นใด
คำว่า “วิธีการอื่นใด” เขียน ไว้เพื่อให้ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลค อมพิวเตอร์ที่เป็นภาพบุคคลนั้นด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อมูลคอม พิวเตอร์ จึงไม่น่าจะหมายความรวมถึงการตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงภาพบุคคลซึ่งเป็น printout จากคอมพิวเตอร์

(๓) โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

องค์ประกอบความผิดข้อนี้ใช้ข้อความทำนองเดียวกับความ ผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ แต่เพิ่มคำว่า “ได้รับความอับอาย” เข้าไปด้วย จึงมีความหมายกว้างกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาท

(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙

หมายถึงเจตนาในการนำภาพบุคคลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
การนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริตไม่เป็นความผิด การกระทำใดเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริตน ่าจะพิจารณาเทียบได้กับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต...ผ ู้นั้ นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท” ๒๘
ข้อสังเกตประการต่อไปสำหรับความผิดตามมาตรา ๑๖ ก็คือความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดมาตราเดียวที่บัญญัติให้เป็นความผิดอั นยอมความได้ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นได้ชัดเจนว่าความเสียหายที่เกิด ขึ้นนั้นเป็นความเสียหายเฉพาะบุคคล
เมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้ กฎหมายจึงต้องบัญญัติในเรื่องผู้เสียหายไว้ในลักษณะท ำนองเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอา ญา มาตรา ๓๓๓ ดังปรากฏความในวรรคสี่ ดังนี้
ถ้า ผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องท ุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”

บทที่ ๓
ความรับผิดตามหลักดินแดน
-------------------------------------------

ลักษณะของการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนให ญ่จะมีผลเกิดขึ้นโดยไม่มีเขตแดน (borderless) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ว่าจะส่ง ณ ที่แห่งใดในโลกก็จะส่งผลที่สามารถเปิดระบบคอมพิวเตอร ์ดูได้ทั่วโลก จึงถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ไร้พรมแดน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาความรับผิดและการรับโทษตามบททั ่วไปของประมวลกฎหมายอาญาด้วย ดังนี้
การกระทำส่วนหนึ่งส่วนใดในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการก ระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้เป็นบทบัญญัติความผิดที่มีโทษทางอาญา ดังนั้นจึงต้องนำหลักกฎหมายความรับผิดในเรื่องหลักดิ นแดนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาใช้ด้วย ดังนี้
มาตรา ๕ ความ ผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำ ในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ใ ห้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักรหรือย่อมจะเล็งเห็ นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
ใน กรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิด สำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่า๓๐
การตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำใ นราชอาณาจักร
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะที่เกี่ ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง การเข้าแทรกแซง ทำลาย การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่นั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กระทำในประเทศไทย แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้น คือผู้รับข้อมูลสามารถเปิดรับข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นใ นประเทศไทยได้ย่อมถือว่าผลแห่งการกระทำเกิดในประเทศไ ทย และถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในประเทศไทยด้วย
เช่นเดียวกับกรณีที่มีการตระเตรียมการหรือความพยายาม กระทำการใดๆ ที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เป็นความผิด แม้การตระเตรียมการหรือการพยายามนั้นจะได้กระทำนอกปร ะเทศไทยแต่ถ้าหากกระทำไปตลอดแล้วผลจะเกิดในประเทศไทย ก็ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดเกี่ย วกับคอมพิวเตอร์ได้กระทำในประเทศไทย
การกระทำของตัวการ ผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดที่ได้กระทำนอก ราชอาณาจักร
เรื่องนี้ต้องนำหลักความรับผิดในเรื่องสถานที่กระทำค วามผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖ มาใช้บังคับด้วย
มาตรา ๖ ความ ผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหม ายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอา ณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หากได้มีการกระทำ สนับสนุนหรือใช้นอกประเทศไทยก็ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นได้กระทำความผิดในประเ ทศไทย ๓๑
การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรที่ต้องรับโทษในราชอาณ าจักร
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าลักษณะของการกระทำความผิดเกี่ย วกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะกระทำ ณ ที่ใดในโลกก็มักจะเกิดผลในประเทศไทยด้วย ดังนั้นการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดถึงแม้ จะกระทำที่ประเทศอื่นแต่ผลของข้อมูลเกิดขึ้นในประเทศ ไทยก็ใช้หลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖ ได้ แต่ก็อาจมีความผิดบางลักษณะซึ่งเป็นการกระทำนอกราชอา ณาจักรและผลที่เกิดขึ้นก็มีแต่นอกราชอาณาจักรเท่านั้ น เช่นการเข้าไปเจาะทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสถานทูตไ ทยในต่างประเทศ กรณีเช่นนี้ถือว่าผู้เสียหายเป็นคนไทย ซึ่งหลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘ นั้นจะให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร หากผู้เสียหายหรือรัฐบาลไทยได้ร้องขอให้ลงโทษ
อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘ ใช้เฉพาะความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘ เท่านั้น แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเก ี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ได้อยู่ในบัญชีตามอนุมาตราต่างๆ ของมาตรา ๘ ดังนั้นจึงได้มีการเพิ่มเติมหลักความรับผิดโดยล้อข้อ ความของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘ ไว้ในพระราชบัญญัติ ดังนี้
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
โดยสรุปแล้วเมื่อเพิ่มเติมหลักความรับผิดของการกระทำ ผิดนอกราชอาณาจักรให้ต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรตามป ระมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘ มาใส่ไว้ในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อรวมกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ทำให้สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอม พิวเตอร์ซึ่งเป็นอาชญากรรมไร้พรมแดนได้อย่างมีประสิท ธิภาพ

บทที่ ๔
การดำเนินคดี
-------------------------------------------

ความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นความผิดอาญา ดังนั้นการดำเนินคดีไม่ว่าในเรื่องการจับกุม ค้น ขัง การสืบสวนสอบสวนย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณ าความอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี ้มีประสิทธิภาพจึงได้มีหลักการพิเศษเพิ่มขึ้น ๒ ประการ ดังนี้

(๑) การเพิ่มวิธีการพิเศษในการสืบสวนและสอบสวน และ

(๒) การเพิ่มให้มี “พนักงานเจ้าหน้าที่” เข้ามามีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนความผิดตามพระราชบัญญ ัติฉบับนี้ด้วยนอกเหนือจากเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมา ยวิธีพิจารณาความอาญา

อำนาจในการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดี
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๘ บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเพื่อประโยชน์ใน การสืบสวนสอบสวนอย่างหนึ่งอย่างใดรวม ๘ ประการ นอกเหนือจากอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจเนื่องจากมาตรา ๒๙ บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให ้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือต ำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบั ญญัตินี้
มีข้อน่าสังเกตว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ตัดอำนา จของเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่น เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือตามกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเภทนั ้นๆ ในทำนองเดียวกัน ๓๓
บทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพิเศษ คือมาตรา ๑๘ ปรากฏตามวรรคหนึ่งของมาตราดังกล่าว ดังนี้
มาตรา ๑๘ ภาย ใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดต ามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่ อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นพยานหลักฐาน เกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
คำว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙” หมายความว่า การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ต้องปฏ ิบัติตามมาตรา ๑๙ ด้วย และเมื่อพิจารณาตามมาตรา ๑๙ แล้วเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้การใช้อำนาจของพนักงานเ จ้าหน้าที่รวม ๕ อนุมาตรา คือ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลต้อง มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องก่อน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสามารถดำเนินการได้
นอกจากนั้นกฎหมายยังควบคุมการใช้อำนาจตามมาตรานี้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้ได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่มีเหต ุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัต ินี้ ถ้าเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นย่อมไม่เข้าเงื่อนไขที่พ นักงานเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจได้ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นความผิดหลายกรรมหรือเป็นความผิดต ่อกฎหมายหลายบทย่อมได้ประโยชน์จากมาตรานี้ด้วย นอกจากนั้นการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ยังต้องใ ช้เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเก ี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญา ตศาล
บทบัญญัติมาตรา ๑๘ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใดรวม ๓ ประการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยไม่จำต้องขออนุญาตศาล
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกร ะทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ๓๔
ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
อำนาจตาม (๑) เป็นเรื่องทั่วไปในการรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอาจทำโดย วิธีการเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือให้บุคคลชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งอำนาจตาม (๑) นี้เป็นอำนาจที่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจชั้นผู ้ใหญ่มีอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ส่วน “ข้อมูล” นั้นหมายถึงข้อมูลทั่วไป เช่นเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในไฟล์ดิสเกตต์ หรือเป็น printout แต่ไม่รวมถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม (๑) เป็นความผิดตามมาตรา ๒๗
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ย วกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคค ลอื่นที่เกี่ยวข้อง
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” มีนิยามศัพท์ไว้ในมาตรา ๓
“ผู้ให้บริการ” มี นิยามศัพท์ตามมาตรา ๓ เช่นกัน ผู้ให้บริการมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๖ ที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น ้อยกว่า ๙๐ วัน ดังนั้นหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการเก็บรักษาจึงต้องพิ จารณาจากมาตรา ๒๖ ด้วย
นอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีอำนาจเรียกข้อมูลจราจรท างคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการแล้ว ก็ยังมีอำนาจเรียกจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้อีกด้ วย
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม (๒) เป็นความผิดตามมาตรา ๒๗
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริก ารที่ต้องเก็บรักษาตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการ แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
นอกจาก “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” แล้ว ผู้ให้บริการยังมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ อีกด้วย ๓๕
ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ เช่นข้อมูลรหัสประจำตัวผู้ใช้บริการ (user ID) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ใช้บริการซึ่งได้มีการลงทะเบ ียน (register) ไว้ เป็นต้น
การจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการที่จะใช้บังคับก ับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไรและเมื่อใด วรรคสามของมาตรา ๒๖ กำหนดให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษ า ผู้ให้บริการจึงควรติดตามประกาศของรัฐมนตรีที่จะมีขึ ้นต่อไป
นอกจากข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ผู้ให้บริการมีหน้าที ่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ แล้ว หากผู้ให้บริการมีข้อมูลของผู้ใช้บริการที่อยู่ในควา มครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ให้บริกา รส่งมอบได้เช่นกัน
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศา ล
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ รวม ๕ ประการตาม (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ต้องขออนุญาตศาลตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙ ก่อน
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าได้มีการก ระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบ ครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิ วเตอร์เมื่อไปกระทำจากระบบคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นการล่วงล้ำเข้าไปในข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งห ากบุคคลทั่วไปทำย่อมเป็นความผิดตามมาตรา ๕ หรือมาตรา ๗ ดังนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รั บอนุญาตจากศาลก่อน
ส่วนข้อความที่ว่า “ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในคว ามครอ บครองของพนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ในกรณีที่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยึดหรืออายัดระบบค อมพิวเตอร์นั้นมาแล้ว ดังนั้นเมื่อได้ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์มาแล้วก็ ย่อมใช้อำนาจทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยไม่จำ เป็นต้องขออนุญาตต่อศาลอีก
ซึ่งการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ก็ต้องขออนุญาตศา ลก่อนเช่นกันเพราะเป็นกรณีตาม (๘) ๓๖
การใช้อำนาจตาม (๔) นี้ หมายถึงการที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อม ูลในระบบคอมพิวเตอร์ หรือในข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ได้ ซึ่งได้แก่การเจาะระบบเพื่อให้ทราบถึงระบบคอมพิวเตอร ์ที่ใช้ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเต อร์ซึ่งปกติแล้วต้องใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ย่อมทำให้พนักงานเจ้าหน ้าที่ได้พยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่กระท ำผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นการเข้าถึงข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ย่อมเ ป็นประโยชน์ในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดว่าผู้ใดเป็น ผู้กระทำความผิดและเมื่อวัน เวลาใด จากสถานที่ใด เป็นต้น และเมื่อหาตัวผู้กระทำผิดได้แล้ว ยังมีอำนาจสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จ ำเป็นให้ด้วยก็ได้
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘(๔) นอกจากจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลและเมื่อได้รับอนุญาตจา กศาลแล้ว ตามวรรคสี่ยังระบุว่าให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอัน ควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหร ือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร ์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตาม (๕) การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้บุคคลซึ่งครอบครอง หรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องย ื่นคำร้องขออนุญาตจากศาลที่มีเขตอำนาจและศาลได้มีคำส ั่งอนุญาตก่อน
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระ ทำความผิด หรือเพื่อสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้๓๗
บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็ นให้ด้วยก็ได้
มีข้อน่าสังเกตว่าหากผู้กระทำความผิดนั้นเป็นบุคคลซึ ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวส่ง มอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักง านเจ้าหน้าที่ได้ตามมาตรา ๑๘(๕) ด้วย
การใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘(๖) ในข้อนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำ นาจและได้รับอนุญาตก่อนที่จะดำเนินการ
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข ้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับหรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้ าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
การใช้อำนาจในการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (๖) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจพบปัญหาซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้า ถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากมีรหัสลับป้องกันกา รเข้าถึงข้อมูลนั้น มาตรา ๑๘(๗) จึงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการถอดรหัส ลับหรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับข องข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหั สลับดังกล่าว
ปกติแล้วข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ เช่นของสถาบันการเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความลับของประเทศจะ ต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์เหล่าน ี้ด้วยรหัสลับ เพราะถ้าผู้ใดล่วงรู้หรือเขาถึงข้อมูลดังกล่าวได้อาจ ทำความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลหรือความปลอดภัยสาธ ารณะเป็นอย่างมาก การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามของ (๗) นี้จึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เช่นกัน
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อ ประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำค วามผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ๓๘
ถึงแม้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ใช้อำนาจตามที่บัญญ ัติไว้ในข้อก่อนๆ แล้ว เช่นการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการถอดรหัสลับแล้วก็ตาม แต่บางครั้งก็อาจยังไม่ได้ข้อมูล เช่นไม่อาจถอดรหัสลับได้ มาตรา ๑๘(๘) จึงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการยึดอายัดระบบคอมพ ิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบราย ละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำผิด
การยึดระบบคอมพิวเตอร์ คือการนำระบบคอมพิวเตอร์มาอยู่ในความครอบครองของพนัก งานเจ้าหน้าที่ ส่วนการอายัดระบบคอมพิวเตอร์น่าจะหมายถึงการที่พนักง านเข้าหน้าที่สั่งระงับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นและ ให้ระบบคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในความควบคุมของพนักงานเจ ้าหน้าที่
การยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์นอกจากจะต้องได้รับอน ุญาตจากศาลแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการย ึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเ ตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบว ันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้นให้ยื ่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออ ายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรว มกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวล าดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดห รือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดดังกล่าวเป็นไปตามที่กำหน ดในกฎกระทรวง
อำนาจศาลในการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าท ี่
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต ามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรื อกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแ ละผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้อง๓๙
ด้วย ในการพิจารณาคำร้อง ให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อ ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อ ที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้ เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร ์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการต ามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งก ารดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลา ลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการก ระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหร ือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดม อบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เ ป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้ เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึด หรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรว มกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวล าดังกล่าวแล้ว พนักงาน๔๐
เจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนก ารอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที ่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๙ เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการควบคุมและตรวจสอบกา รใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
(๑) เฉพาะการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) เท่านั้นที่จะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อมีคำ สั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง
(หมายเหตุ เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เท่า นั้นที่มีอำนาจและต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง)
(๒) ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
การจะพิจารณาว่าศาลใดเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเป็นไปตามพ ระธรรมนูญศาลยุติธรรมและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาล เช่นกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวง เป็นต้น และเนื่องจากเป็นการยื่นคำร้องในคดีความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งเป็นคดีอาญา จึงต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคด ีอาญาและมีเขตอำนาจในคดีที่บุคคลใดกระทำหรือกำลังจะก ระทำความผิด
(๓) คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรื อกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแ ละผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย
(๔) ให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
การที่จะสั่งคำร้องของพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งศาลอาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตโดยพิจารณาจากคำร้ องได้เลย แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้มีการไต่สวนคำร้องก่อนมี คำสั่งก็ได้ซึ่งเป็นอำนาจทั่วไปของศาลตามประมวลกฎหมา ยวิธีพิจารณาความอาญา และน่าจะถือได้ว่าเป็นการสั่งคำร้องคำขอในคดีอาญาซึ่ งผู้พิพากษาคนเดียวย่อมมีอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธ รรม มาตรา ๔๑
ซึ่งได้แก่ศาลที่มีคำสั่งอนุญาตคำร้อง
(๕) เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อ ที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้ เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร ์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
(๖) หลังจากได้รับอนุญาตจากศาลให้ดำเนินการตามคำร้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการต ามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งก ารดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
ส่วนการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) และการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามวรรค สี่และวรรคห้าของมาตรา ๑๙ ได้มีการอธิบายไว้ในเรื่องนั้นๆ แล้วจึงไม่ขออธิบายซ้ำอีก
อำนาจศาลในการมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข ้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๒๐ ใน กรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการ ทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเท ือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว้ในภ าคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอั นดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอ าจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนา จขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิ วเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้ อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำ๔๒
การระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้ อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๐ เป็นกรณีที่ให้ศาลมีอำนาจมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่ห ลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตามพระราชบัญ ญัตินี้ หรือภาษาสามัญคือการบล็อกไม่ให้ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพ ร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดดังกล่าวในระบบคอม พิวเตอร์อีกต่อไป
การที่ศาลจะใช้อำนาจตามข้อนี้ต้องเป็นเรื่องที่พนักง านเจ้าหน้าที่ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมน ตรีก่อนแล้วจึงยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาล ที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร ่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ศาลที่มีเขตอำนาจในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่ มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเข้าองค์ ประกอบตามมาตรา ๒๐
จะเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดวิธีการไว้ค่อนข้างเข้มงวด คือไม่ได้ให้อยู่ในดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่ านั้น แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีก่อนเนื่องจาก การบล็อกระบบคอมพิวเตอร์อาจกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของบ ุคคลในการสื่อสารข้อมูล
ลักษณะของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ศาลจะสั่งให้ระงับการเ ผยแพร่นั้น จะต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นองค์ประกอบความผิ ดตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งปกติ ได้แก่ความผิดตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ นอกจากนั้นยังต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบก ระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่บัญญัติไว ้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอั นดีของประชาชน ซึ่งการพิจารณาความหมายดังกล่าวต้องพิจารณาตามประมวล กฎหมายอาญา
ในส่วนที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต ่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรนั้นมีกำหนดไว้ว่าต้องพิ จารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอั นดีของประชาชนเป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่า ที่ยกตัวอย่างได้ก็เช่นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กระทบต่อ ศาสนาหนึ่งศาสนาใด เป็นต้น
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร ์ตามคำร้องขอของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว กฎหมายกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจทำการระงับก ารทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งผู้ให้บริการระงับการทำ ให้แพร่หลาย๔๓
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ดั งกล่าวต้องระวางโทษตามมาตรา ๒๗
อำนาจศาลในการห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึง ประสงค์
มาตรา ๒๑ ใน กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เพื่อขอให้มีคำสั่งคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุด คำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่ง ที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หร ือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเ ขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่าย หรือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีชุดคำสั่งไม่พึงปร ะสงค์ ศาลที่มีเขตอำนาจตามมาตรานี้น่าจะหมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่เจ้าของหรือผู้ครอบคร องข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเขตอำนาจ
“ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์” หมาย ถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือร ะบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้องหรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่จะกำหนดไว้โดยกฎกระทรวง ดังนั้นจึงอาจมีกฎกระทรวงกำหนดถึงลักษณะของชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์ตามมา อย่างไรก็ตามชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์๔๔
ดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้อง กันหรือแก้ไขนั้นเอง ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรานี้นอกจากจะห้ามการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู ่ด้วยนั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ครอบครอง เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
อนึ่ง หากชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเป็นชุดคำสั่งที่จ ัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องในการกระทำค วามผิดตามมาตรา ๕ ถึงมาตรา ๑๑ ผู้ที่จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งดังกล่าวย่อมมีควา มผิดตามมาตรา ๑๓
การรับฟังข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐาน
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประ มวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้ วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๕ เป็นบทบัญญัติทเสริมมาตรา ๒๒๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่านอกเหนือจากพ ยานบุคคล พยานวัตถุและพยานเอกสารแล้ว ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ก็เป็นพยานหลักฐานที่อ ้างและรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาห รือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นพยานห ลักฐานประเภทใด
ส่วนการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็ใช้ หลักการเกี่ยวกับพยานหลักฐานประเภทอื่นตามประมวลกฎหม ายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ คือต้องเป็นพยานหลักฐานที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น ๔๕
หลักการที่สำคัญของมาตรา ๒๕ คือ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องเป็นข้อมูลท ี่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้มาโดยอำนาจหน้าที่ตามมาตร า ๑๘ ประกอบมาตรา ๑๙ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องก็ไม่สามารถอ้างและรับฟังเป็ นพยานหลักฐานได้ อย่างไรก็ตามบทบัญญัตินี้เป็นการควบคุมการได้มาซึ่งพ ยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น จำเลยจึงอาจอ้างพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ นำสืบต่อสู้ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๒๕ แต่พยานหลักฐานของจำเลยที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ก็ยั งอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ อยู่ดี
การประสานงานในเรื่องการจับ ควบคุม ค้น การสืบสวนและสอบสวนระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับพนัก งานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
มาตรา ๒๙ ใน การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรว จชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญั ตินี้
ใน การจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระร าชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญ า ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้ร ับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับ แนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตา มพระราชบัญญัติฉบับนี้ทั้งหมดแล้วอาจสรุปได้ ดังนี้ ๔๖
(๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีฐานะเป็ นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎห มายวิธีพิจารณาความอาญา
หมายความว่ามีอำนาจทั้งปวงตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎห มายวิธีพิจารณาความอาญาที่กำหนดไว้สำหรับพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เช่น มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบั ญญัติฉบับนี้
ข้อสังเกตที่สำคัญก็คืออำนาจในการสืบสวนสอบสวนที่พนั กงานเจ้าหน้าที่จะทำได้มีแต่เฉพาะความผิดตามพระราชบั ญญัติฉบับนี้เท่านั้น
(๒) ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้จะกำหนดให้มีพนักงานเจ ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้ตัดอำนาจเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพ ิจารณาความอาญา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพียงแต่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอ าญาไม่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้โดย เฉพาะเท่านั้น เช่นอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๖ เป็นต้น ดังนั้นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอา ญายังมีอำนาจหน้าที่ซึ่งไม่ได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพ าะ จึงย่อมรับแจ้งความร้องทุกข์ จับกุม ทำสำนวนการสอบสวนได้
(๓) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหม ายวิธีพิจารณาความอาญาต่างมีอำนาจซ้ำซ้อนกันในบางเรื ่อง และความผิดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความเกี่ยวพันกั นระหว่างความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กับความผิดตา มกฎหมายอื่นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ ยวกับการดำเนินคดีไม่ว่าในเรื่องการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนการสอบสวนจึงต้องมีการประสานงานระหว่างพนั กงานเจ้าหน้าที่กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประม วลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๔) การประสานงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับเจ้าพนักงา นและพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญ าว่าผู้ใดจะรับผิดชอบในเรื่องใดในขั้นตอนต่างๆ ของการสืบสวนและสอบสวน (ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีอำนาจตามกฎหมายด้วยกัน) นั้นไม่อาจกำหนดรายละเอียดในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ จึงให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแ ห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยว กับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าว ๔๗
โดยสรุปจะต้องมีการวางระเบียบในเรื่องการสืบสวนสอบสว นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระร าชบัญญัติฉบับนี้กับพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจชั้นผู ้ใหญ่ตลอดจนพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาให้ชัดเจนที่จะประสานการปฏิบัติหรือดำเนินกา รตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต่อไป

บทที่ ๕
พนักงานเจ้าหน้าที่
-------------------------------------------

ความหมายและคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓ ได้ให้ความหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ดังนี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญั ตินี้
กฎหมายบัญญัติให้มี “พนักงานเจ้าหน้าที่” เพื่อ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสว นสอบสวนในเรื่องพยานหลักฐานจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นสำ คัญ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดคุณสมบัติไว้ในมาตรา ๒๘
มาตรา ๒๘ การ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และชำนาญเกี่ยวกั บระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๘ ค่อนข้างจะเปิดกว้างสำหรับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน ้าที่ คือเพียงแต่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิ วเตอร์ก็เพียงพอ ดังนั้นจึงอาจมีการฝึกอบรมเจ้าพนักงานตำรวจให้มีความ รู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์แล้วแต่งตั้งให้เป็นพนัก งานเจ้าหน้าที่ก็ได้
กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้า ที่จากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติของพนักงา นเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้อีก ๔๙
สถานะและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๙ ใน การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรว จชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญั ตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” มี อำนาจทุกอย่างตามที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้ นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามี แต่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติ ฉบับนี้เท่านั้น
อำนาจหน้าที่ ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระร าชบัญญัติฉบับนี้ คือ
(๑) อำนาจในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเกี ่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำผิดตามมาตรา ๑๘
(๒) อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อดำเนิน การตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ซึ่งมาตรา ๑๙ กำหนดว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนที่พนักงานเจ้า หน้าที่จะดำเนินการ
(๓) อำนาจในการยื่นคำร้อง (ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี) ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้ แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่ อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือที่มีลักษณะขัดต่อควา มสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา ๒๐
(๔) อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้ม ีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค ์ตามมาตรา ๒๑
(๕) อำนาจในการสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลจราจรท างคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็ นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามมาตรา ๒๖
ทั้งนี้ ต้องอย่าลืมว่าถึงแม้กฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองและ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็จะต้องเป็นเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เท่ านั้น ๕๐
ความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๒ ห้าม มิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูล คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับ การกระทำเพื่อประโย ชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัต ินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าท ี่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ม าจากการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ เป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นพยานหลั กฐานในการสืบสวนและสอบสวนความผิดตามพระราชบัญญัติฉบั บนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่ งมอบข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลใด เว้นแต่เป็นกรณีที่กระทำไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือดำเนินคดีกับพนักงานเ จ้าหน้าที่นั้นเองเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิช อบ
อย่างไรก็ตามเพื่อเปิดช่องให้สามารถนำข้อมูลคอมพิวเต อร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ม าตามมาตรา ๑๘ ไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่นเพื่อใช้ในการดำเนินคดีอาญาอื่นหรือเพื่อใช้ในเร ื่องความร่วมมือระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาหรือข้อตกล งที่ประเทศไทยเป็นภาคี กฎหมายกำหนดให้จะต้องเป็นการกระทำตามคำสั่งของศาลหรื อได้รับอนุญาตจากศาล ส่วนในปัญหาว่าจะขออนุญาตจากศาลใดนั้น น่าจะหมายถึงศาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จะเปิดเผยหร ือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่ในเขตอำนาจ ๕๑
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหมายถึงกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำไปโดยเจตน า
ส่วนกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีเจตนาแต่กระทำ โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร ์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ม าตามมาตรา ๑๘ จะต้องระวางโทษตามมาตรา ๒๓ ดังนี้
มาตรา ๒๓ พนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู ้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ม าตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ ๖

ความรับผิดของผู้ให้บริการและบุคคลทั่วไป
-------------------------------------------

ความหมายของผู้ให้บริการ
มาตรา ๓ ให้ความหมายของผู้ให้บริการ ดังนี้
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน ์ของบุคคลตามอื่น
ความหมายของผู้ให้บริการได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ ๑
หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้บริการ
มาตรา ๑๕ ผู้ ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระ ทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ความรับผิดของผู้ให้บริการตามมาตรา ๑๕ นี้คือการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิ ดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตนซึ่งได้มี การอธิบายไว้แล้วในบทที่ ๒
มาตรา ๒๖ ผู้ ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้า สู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บร ิการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง๕๓
คอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นก รณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท ่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้ งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้ อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๖ กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ กล่าวคือผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูล ๒ ประการ คือ

(๑) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

ความหมายของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ปรากฏตามมาตรา ๓ โดยผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิว เตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้ นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แต่อาจขยายออกไปได้กรณีที่พน ักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพ ิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพ ิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
การกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทา งคอมพิวเตอร์ว่าจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใดนั้นจะเป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจ จานุเบกษา

(๒) ข้อมูลผู้ใช้บริการ

หมายถึง ข้อมูลที่บันทึกถึงตัวตนของบุคคลในการเข้าใช้บริการท างเครือข่ายของผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ สกุล รหัสเลขประจำตัว user name หรือ pin code ใดๆ ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริกา รนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเว ลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นส ุดลง
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ คือไม่เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลผู้ใช้บริการจะต้องระวางโทษตามวรรคสี่ คือปรับไม่เกินห้าแสนบาท ๕๔
ความรับผิดของบุคคลทั่วไป
มาตรา ๒๔ ผู้ ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคลทั่วไปซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเ กี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่หากไปได้ล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลผู้ใช้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาจา กการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ แล้วเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใดจะมีความผิดแล ะต้องรับโทษตามมาตรานี้
ส่วนกรณีที่ผู้นั้นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ด้วยการก ระทำของตนเองก็อาจมีความผิดตามมาตรา ๗ หรือมาตรา ๘ ได้เช่นกัน
มาตรา ๒๗ ผู้ ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าท ี่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะป ฏิบัติให้ถูกต้อง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือการที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๑ ไม่จำเป็นว่าจะต้องสั่งกับผู้กระทำความผิดหรือผู้ให้ บริการ ดังนั้นจึงอาจเป็นการสั่งกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้ครอบครองหรือควบคุมระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ได้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านี้ระวางโทษปรับไม่เกิ นสองแสนบาท และปรับไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต ้อง หมายความว่าศาลมีอำนาจพิจารณาปรับเป็นจำนวนเงินไม่เก ินสองแสนบาท และจะกำหนดค่าปรับรายวันหลังจากนั้นอีกวันละไม่เกินห ้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ถ้าได้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วก่อนที่ศาลจะพิจารณา ศาลก็จะกำหนดค่าปรับรายวันอีกไม่ได้

บทที่ ๗
บทสรุป
-------------------------------------------

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับเท คโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของบุคคล ในสังคมอย่างมาก คอมพิวเตอร์มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในหลายรูปแบบและ ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการบันทึกที่สามารถดึงข้อมูลกลับได้ ตลอดจนการประมวลผลที่ถูกต้องแม่นยำทางคณิตศาสตร์
อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นใน ๒ ลักษณะ
ลักษณะแรก คือ อาชญากรรมที่กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิว เตอร์ ซึ่งได้แก่การเข้าไปแทรกแซง ทำลาย ทำให้เปลี่ยนแปลง ทำให้เสียหายในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์
ลักษณะที่สอง คือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมซึ่ง เป็นอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงและขยายวงกว้างเพรา ะการแพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีพรมแดนและ มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไปที่อยู่ในระบบ
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญใน ๒ ส่วน ส่วนแรกเรียกว่าเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่เป็นการกำหนด องค์ประกอบความผิดในอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิว เตอร์ การกำหนดกฎหมายในส่วนที่เป็นบทบัญญัติความผิดต่างๆ นั้นไม่น่าจะมีปัญหาเท่าใดนัก เพราะหลักการใช้กฎหมายอาญานั้นต้องตีความโดยเคร่งครั ด หากมีกรณีใดบ้างที่อาจหลุดหลงไปเนื่องจากการกำหนดองค ์ประกอบความผิดที่ไม่ชัดเจนพอก็อาจแก้ไขเพิ่มเติมกฎห มายนี้ได้ในภายหลัง การที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการพิจารณายกร่า งกฎหมายในส่วนนี้ไม่ได้มีการพิจารณาให้รอบคอบ แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยกร่างนี้คงได้พิจาร ณาเห็นว่า นับวันคอมพิวเตอร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันข องมนุษย์มากขึ้นโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ดังนั้นโอกาสที่บุคคลเหล่านี้ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์ เป็นประจำจะไปกระทำการที่เป็นความผิดได้โดยง่าย ดังนั้นองค์ประกอบความผิดที่สำคัญและจำเป็นเสมอสำหรั บความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือคำว่า “โดยมิชอบ” ซึ่งจะเป็นเส้นแบ่งที่ดีระหว่างการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือไม่ผิดกฎหมาย ๕๖
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นความผิดอาญาซึ่งหากน ำความผิดส่วนนี้ไปบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในลัก ษณะเดียวกับความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ก็จะท ำให้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีหรือกฎหมาย วิธีพิจารณาหรือที่เรียกว่ากฎหมายวิธีสบัญญัตินั้นต้ องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายที่เก ี่ยวข้อง เช่นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีในศาลแขวงเป็นหลัก แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้สร้างกลไกพิเศษขึ้นมาโดยม ี “พนักงานเจ้าหน้าที่” ซึ่ง ได้แก่บุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการสืบสว นและสอบสวนโดยมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานซ ึ่งต้องใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้ อมูลคอมพิวเตอร์สำหรับพิสูจน์การกระทำความผิดและหาตั วผู้กระทำผิด
พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้มี “พนักงานเจ้าหน้าที่” โดย ให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใ หญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและมีอำนาจในก ารสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ตัดอำนาจหน ้าที่ของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอ าญา ด้วยเหตุผล ๒ ประการ ประการแรกคือ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีหลายเรื่องยังคงควรเป็นขอ งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่อยู่ด้วยไม่ว ่าการจับ ควบคุมตัว รวมทั้งการรับแจ้งความร้องทุกข์ รวมตลอดไปถึงการทำสำนวนการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้ รับผิดชอบ ส่วนสิ่งที่เจ้าพนักงานอื่นไม่มี คืออำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ เป็นหลัก ประการที่สองคือ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะเกี่ยวข้อง กับการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่ นในลักษณะของการกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทงต่าง วาระกัน ซึ่งความผิดฐานอื่นนั้นไม่อยู่ในอำนาจของพนักงานเจ้า หน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
การจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ซึ่งเกี่ย วพันและเชื่อมโยงกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระ ราชบัญญัติฉบับนี้กับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาซึ่งเป็นเรื่องยาก ดังนั้นจึงได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ ว่าให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแ ห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยว กับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการประสานงานระหว ่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้กับพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในเรื่องการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนการสอบสวนและการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ๕๗
ดังนั้นการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพ ิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการวาง ระเบียบตามมาตรา ๒๙ ดังกล่าว และมีข้อสังเกตว่าระเบียบดังกล่าวที่จะต้องออกร่วมกั นนั้นเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานในเรื่อง การดำเนินคดีระหว่าง “พนักงานเจ้าหน้าที่” ตามพระราชบัญญัตินี้กับ “เจ้าพนักงาน” ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดหน่วยงาน หนึ่ง หน่วยงานนั้นย่อมมีอำนาจออกระเบียบเพื่อบังคับใช้กับ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หรือ “เจ้าพนักงาน” ในสังกัดของตนได้เอง
ข้อดีของการที่มาตรา ๒๙ กำหนดให้ออกเป็นระเบียบเรื่องการประสานงานทำให้เกิดค วามยืดหยุ่นและคล่องตัว โดยสามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมและอาจออกเป็นระเบียบเฉพา ะเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ หรือเมื่อมีปัญหาข้อสงสัยในวิธีปฏิบัติต่างๆ ก็อาจออกระเบียบแก้ไขเพิ่มเติมมาได้เป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมและจำเป็น
สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบตามข้อเสนอแนะของคณ ะกรรมาธิการวิสามัญให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการใน เรื่องต่างๆ ดังนี้
(๑) รัฐบาลควรเตรียมการในเรื่องการออกกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องออกตามความในร่างพระราช บัญญัติฉบับนี้ให้ทันก่อนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี ผลบังคับใช้
(๒) รัฐบาลควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทำนองเดียวกับสถาบันนิติวิทยาศ าสตร์ของกระทรวงยุติธรรม หรือสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจของสำนักงานตำรวจแห ่งชาติ
(๓) เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเก ี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกา ศในราชกิจจานุเบกษา มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ดังนั้นเพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้ทราบถึงสาระสำคัญในร ่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้บุคคลดังกล่าวรับทร าบด้วย
โดยสรุป การดำเนินการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำค วามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภ าพจะต้องมีการออกกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติฉ บับนี้ จึงควรติดตามการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวต่อไป ๕๘
ในส่วนที่เกี่ยวกับ “พนักงานเจ้าหน้าที่” ก็น่าเป็นห่วงเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นกลไกสำคัญใ นการสืบสวนสอบสวนความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงควรมีสังกัดของหน่วยงานให้ชัดเจน เช่นในชั้นแรกอาจตั้งเป็นลักษณะของสำนักงานชั่วคราวส ังกัดอยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารก่อน เพื่อที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้ประสานงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษมาฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็น “พนักงานเจ้าหน้าที่” เพื่อใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ ซึ่งกำหนดไว้เป็นพิเศษสำหรับ “พนักงานเจ้าหน้าที่” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เท่านั้น
ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนในการพิจารณากฎหมายฉบ ับนี้ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญของสภานิติบัญญัติแห่งช าติหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนสร้างเสริมสังคมไทยใ ห้มีความเจริญก้าวหน้าตามเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ ตลอดเวลา

ภาคผนวก
-------------------------------------------
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิว เตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๘ ตอนที่ ๒๗ก. ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐)

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  7,811
Today:  5
PageView/Month:  14

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com