การแก้ปัญหาคอมพิวเตอร ์และการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

 
ระบายความร้อนให้กับพีซีด้วยวิธีเหนือชั้น

คุณอยากให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เย็นลงไหม?...ผมหมายถึงอุณหภูมินะที่เย็น! ถ้าอยากเย็นละก็ฟังทางนี้ เพราะว่าเรามีวิธีเด็ดๆ แจ่มๆ มาฝากคุณผู้อ่านที่กำลังมองหาวิธีดับร้อนให้กับพีซีตัวเก่ง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นไปอีก...!
..ตู๊ดๆ..ตู๊ดๆ เสียงร้องเมนบอร์ดที่ดังเพราะความร้อนภายในขึ้นสูงนั้น สำหรับผู้ใช้คอมพ์มือใหม่อาจจะงงกับเสียงร้องนี้และเกิดความสับสนขึ้นมา ว่าเพราะอะไรมันถึงดัง?และจะหยุดเสียงที่ว่านี้ได้อย่างไร ? แต่สำหรับผู้คร่ำหวอดและคลุกคลีกับคอมพิวเตอร์มานาน คงจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ไม่ต้องตกใจไปครับถ้าคุณเป็นผู้ใช้ในกลุ่มแรก เพราะสาเหตุที่มันดังขึ้นมาก็เพราะมันทำตามหน้าที่ของมันนั่นเอง เมื่ออุณหภูมิภายในเครื่องมันสูงขึ้น เซนเซอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดจะส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้ระบบเตือนส่งเสียงดังออก มา (อาจจะดัง ตู๊ด ๆ หรือ ปิ๊ป ๆ ก็ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อครับ บางรุ่นก็เล่นเสียงหวอเลยก็มี !!)

เมื่อเสียงดังเตือนขึ้นมาในระหว่างการใช้งานก็เพิ่ง ตกใจไปครับ ให้ปิดโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ จากนั้นเซฟงานของคุณให้เรียบร้อย และก็สั่งชัตดาวน์เครื่องเพื่อให้เสียงร้องนั้นหยุดลง! และเพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องลดลงนั้น ต้องปิดเครื่องทิ้งไว้สัก 10-15 นาทีครับ เพราะถ้าคุณเปิดเครื่องขึ้นมาทันทีก็จะพบกับเจ้าเสียงร้องที่ว่านี้ ครั้ง...ระหว่างที่รอให้เครื่องของคุณเย็นลง ผมขออนุญาตทำตัวเป็นผู้มีประสบการณ์สักหนึ่งวัน พาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับวิธร้อนคอมพิวเตอร์ ทั้งแบบธรรมดาๆ และไม่ธรรมดา แต่ก่อนอื่นเราไปดูสาเหตูของความร้อนที่พู่งสูงขึ้นนี้ว่ามีที่มามีไปอย่าง ไร!

คอมพิวเตอร์ร้อน อะไรเป็นสาเหตุได้บ้าง ?
ถ้าถามสาเหตุของความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น ก็มีหลายสาเหตุครับ แต่ที่หลักๆ ก็มาจากการใช้งานของคุณที่ต่อเนื่องยาวนานจนทำให้ระบบภายในมีอุณหภูมิสะสม สูงขึ้น และหากระบบที่ใช้ระบายความร้อนภายในเครื่องทำงานได้ไม่ดีพอละก็ นั่นก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องสูงขึ้น จนเมนบอร์ดต้องส่งสัญญาณเตือนก่อนที่อุปกรณ์ต่างๆ จะได้รับความร้อนเสียหาย เราไปดูกันเป็นข้อๆ เลยว่า สาเหตุหลัก นั้นมีอะไรบ้าง...

1. อุปกรณ์ที่ใช้ระบายความร้อนภายในทำงานได้ไม่ดีพอ ซึ่งได้แก่ พัดลมและฮีตซิงก์ของซีพียูมีประสิทธิภาพต่ำเพราะปัจจุบันซีพียู มีความเร็วในระดับ GHZ ขึ้นไปจำเป็นต้องได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ระบาย่ความร้อนที่มีแระสิทธิภาพสูง เช่น ฮีตซิงก์ทองแดงกับพัดลมความเร็วรอบจัดๆ เพื่อระบายความร้อนจากซีพียูออกไปอย่างรวดเร็ว

2. ฮาร์ดดิสก์ร้อน หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเมื่อฮาร์ดดิสก์ถูกใช้งานเป็นเวลานานๆ ความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะเอามือไปเตะไม่ได้เลย (ร้อนจริงๆ ขอบอก!) ซึ่งการที่ฮาร์ดดิสก์ถูกพัฒนาให้มีความเร็วรอบสูงขึ้นเท่าใด เวลาที่มันทำงานอย่างเต็มที่นั้นความร้อนที่เกิดจากการหมุนแผ่นจานและเลื่อน หัวอ่ารจะสะสมอยู่ภายใน เมื่อสะสมมากเข้าๆ ก็ถ่ายเทสู่ภายนอก (แต่ภายในเคส) การแก้ปัญหาฮาร์ดดิสก์ร้อนนั้นไม่ยากครับ เพราะตอนนั้นคุณสามารถซื้อพัดลมสำหรับติดตั้งประกบกับฮาร์ดดิสก์เพื่อไล่ ความร้อนที่สะสมออกไป สนนราคาก็เพียง 100 บาทครับ แต่มันช่วยคุณได้เยอะทีเดียว !

3 . หน่วยความจำร้อน อันนี้ร้อนจริงๆ ครับ เพราะหน่วยความที่ใช้ปัจจุบันมีความเร็วในการเขียนอ่านข้อมูลสูงขึ้นกว่าแต่ ก่อนมากมายหลายเท่า ซึ่งแน่นอนว่าเวลามันทำงานนั้นความร้อนที่เกิดจากสัญญาณ ไฟฟ้าวิ่งไปวิ่งมานับครั้งไม่ถ้วนภายในหน่วยความจำเพื่อเขียนอ่าน ข้อมูลย่อมสะสมอยู่บนแผงหน่วยความจำด้วย ปัจจุบันมีแผงระบายความร้อนสำหรับหน่วยความจำวางขายแล้ว ซึ่งหากติดตั้งเข้าไปก็ช่วยในเรื่องระบายความร้อนได้มากทีเดียว ที่สำคัญยังช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ด้วย

4. ระบบไหลเวียนอากาศภายในเคสไม่ดีพอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีทางออกสำหรับถ่ายเทอากาศร้อนออกสู่ภายนอกระบบ ปกติแล้วเคสรุ่นใหม่ๆ จะถูกออกแบบมาให้ไหลเวียนอากาศภายในอย่างบถูกต้อง โดยจะมีพัดลมอยู่บริเวณด้านหน้าเคสสำหรับดูดอากาศเข้า และบริเวณด้านหลัวเคสจะมีพัดลมสำหรับดูดอากาศออก ซึ่งตรงจุดนี้คุณสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศออกได้มากกว่าหนึ่งตัว (ยิ่งมากก็จะช่วยถ่ายเทความร้อนสู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็ว) แต่ถ้าติดมากไปก็อาจมีเรื่องของเสียงรบกวนตามมา แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้เป็นเคสรุ่นเก่าๆ ละก็ ให้ติดตั้งพัดลมเพิ่มเข้าไปยังตำแหน่งที่บอกเมื่อสักครู่ เพราะมันจะช่วยให้อากาศมีทางเดินไหลวัยนอย่างถูกต้อง

5. ร้อนเพราะสกปรก อันนี้ก็จริงอีกเหมือนกันครับ ! เพราะบางคนใช้คอมพิวเตอร์แบบสักแต่ว่าใช้อย่างเดียว ไม่เคยดูแลรักษาเรื่องความสะอาดของเครื่องเลย ผมเคยมีประสบการณ์ไปซ่อมเครื่องให้กับเพื่อนคนหนึ่ง พอเปิดฝาเคสออกมาเท่านั้น ภาพที่เห็นคือรังมดขนาดย่อมๆ อยู่ที่มุมเคสด้านหนึ่ง ซึ่งมีมดงานกำลังง่วนอยู่กับการขนไข่เข้ามาเก็บในรัง !! และถัดลงมาตรงเมนบอร์ดก็ยงมีไข่จิ้งจกฝังตัวอยู่ข้าง สล็อต AGP เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งยังไม่ฟักตัว แต่คาดว่าถ้าเครื่องเปิดติดเมื่อไร ความร้อนจะทำให้ไข่พวกนี้ฟักตัวเร็วขึ้นเท่าตัว!! ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากคุณปล่อยให้เครื่องสกปรกก็จะมีสัตว์มาอาศัยอยู่ ควรมั่นทำความสะอาดเครื่องโดยการปัดฝุ่นและเช็ดถูอยู่เป็นประจำ (ใช้ผ้าสะอาดห้าชุบน้ำเด็ดขาด) เพราะฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเคส และอุปกรณ์ภายในต่างๆ จะเป็นตัวดูดความร้อนไม่ให้ถ่ายเทออกสู่ภายนอก ยิ่งมีฝุ่นเกาะมาก เครื่องของคุณก็จะมีอุณหภูมิมากขึ้นด้วย

สำหรับสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความร้อนภายในสูงขึ้นนั้น หลัก ๆ ก็มีอยู่เพียงเท่านี้ ลืมบอกไปว่าหากคุณตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกละก็ ความร้อนก็จะยังคงอยู่บริเวณรอบๆ แถวนั้น! แนะนำให้วางเคสไว้ในที่โล่งๆ อย่างบนโต๊ะนี่ก็ยังโอเคครับ! แต่ถ้าจะเอาไว้ใต้โต๊ะเพราะพื้นที่บนโต๊ะทำงานมีจำกัดละก็ คงต้องวางไปตามนั้นก่อน แต่อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดของเครื่องด้วยละกันครับ..

Tip
อันที่จริงแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ระบบภายในมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งก็คือ สภาวะอากาศภายนอกนั่นเอง หากคุณต้องทำงานอยู่ในห้องที่อับมีอากาศถ่ายเทน้อยละก็ พึงระลึกเอาไว้เลยว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะต้องมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวด เร็ว

อันตรายที่เกิดจาก การปล่อยให้คอมพิวเตอร์มีความร้อนสะสมเป็นเวลานาน

ลองนึกภาพของแผ่นยางที่วางอยู่ในเคสเวลาที่เปิดเครื่องขึ้นมาทำงานดูสิครับ ครั้งแรกอาจจะไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปแผ่นยางนั้นก็จะเหนียวเป็นยางยืดเพราะโดนความร้อนนานๆ ซึ่งอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์คงจะไม่ต่างอะไรกับแผ่นยางมากนักหรอกครับ เพียงแต่มันอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าพอที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่เราคงจะไม่รอให้ถึงวันนั้นแน่! เพราะหากคอมพิวเตอร์ของคุณภายในเครื่องลดลง อุปกรณ์บางตัวไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อความร้อนที่สะสมเป็นเวลานานๆ ทำให้มันต้องถึงคราวอำลาไปก่อนเวลาอันสมควรดังนั้น หากคุณจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้เพื่อดาวโหลดโปรแกรมทั้งวันทั้งคืนละก็ แนะนำให้เปิดฝาเคสออกเลยครับ และถ้ามีพัดลมตัวเล็กๆ เป่าลมเข้าไปภายในเคสก็ยิ่งดี เพราะความร้อนจะไม่สะสมอยู่ที่ตัวเคสและอุปกรณ์นานนัก ซึ่งวิธีนี้ช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้นด้วย

การแก้ปัญหาคามร้อนด้วยฮาร์ดแวร์
การใช้อุปกรณ์มาช่วยในการระบายความร้อนให้กับพีซีนั้น ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ถูกที่สุดก็คงจะเป็นพัดลมระบาบความร้อนภายในเคสที่สามารถ ติดตั้งเพิ่มเติมไปได้ตามที่คกุณพอใจ แต่ระวังว่าจะมีเรื่องของเสียงดังมารบกวนด้วยส่วนอุปกรณ์ช่วยระบายความร้อน ชนิดอื่นนั้น แนะนำให้มองหาฮีตซิงก์ทองแดงคุณภาพดีๆ ที่มีพัดลมความเร็วรอบสูงและเสียงไม่ดังมาเปลี่ยนกับฮีตซิงก์ตัวเก่าของคุณ เพราะตอนนี้ราคาตกลงมามากแล้ว หรือใครที่มีงบเยอะจะมองหาอุปกรณ์ราคาแพงอย่างชุดฮีตไปป์สำหรับซีพียู และการ์ดจอ ก็คงจะช่วยได้มากทีเดียว นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนไปใช้เคสอลูมิเนียมที่ติดตั้งชุดระบายความร้อนมา ให้ในตัว ซึ่งเคสพวกนี้จะมีการออกแบบระบบไหลเวียนอากาศภายใน มาให้ด้วย และด้วยคุณสมบัติของวัสดุทีทำจากอลูมิเนียมนั้น จะช่วยในเรื่องการสงผ่านความร้อนออกไปสู่ภายนอกระบบได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีความร้อนสะสมภายในห้องปรับอากาศด้วยละก็ ปัญหาเรื่องความร้อนคงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน!

การแก้ปัญหาความร้อนด้วยซอฟต์แวร์
สำหรับการดับร้อนพีซีของคุณด้วยซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้นั้น เราจะมุ่งเป้าไปที่การทำงานของซีพียูเป็นหลักครับ เพราะซอฟต์แวร์จำพวกนี้มักจะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อควบคุมความร้อนที่เกิดจากซี พียูเป็นโดยเฉพาะหลักการคร่าวๆ ของมันก็คือ หากซีพียูไม่อยู่ในโหมดที่ต้องทำงานหรือประมวลผลแล้วละก็ มันจะสั่งให้ซีพียูเข้าสู่สภาวะไอเดิล คือสภาวะพักเงียบไม่ทำงาน รอคำสั่งอย่างเดียว เมื่อซีพียูเข้าสู่โหมดพักนี้การบริโภคพลังงานก็จะลดลง แน่นอนว่ามันทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นลดลงด้วยเช่นกัน


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  7,810
Today:  4
PageView/Month:  13

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com